เวลาทำการ: ไม่ได้ระบุ
หมู่ที่ 6 บ้านป่าไสออก ต.กงหรา อ.กงหรา ประวัติหมู่บ้านป่าไสออก บ้านป่าไสตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ในสมัยก่อนบริเวณที่ตั้งเป็นพื้นที่ป่าใหญ่ ชางบ้านในพื้นที่ก็พากันตัดไม้ใหญ่ออกจนเหลือแต่ต้นไม้เล็กๆ ชาวบ้านเลยเรียกที่นี่ว่าป่าไส เพราะดูจากลักษณะของป่าที่จากเดิมที่มีความหนาของต้นไม้ใหญ่ เมื่อชาวบ้านตัดไม้มากขึ้นทำให้ป่าที่มีความหนากลายเป็นป่าที่ดูบางตาลงไป ต่อมาชาวบ้านได้สร้างบ้านเรือนอยู่ทั้งที่ราบและที่ลุ่มเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ปัจจุบันชาวบ้านประกอบอาชีพทำนาเป็นบางส่วน และเลี้ยงผึ้งชันโรง รวมไปถึงการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ เรือนท่านลอร์ดโฮมสเตย์ ตั้งอยู่เลขที่ 132 ม.6 ต.กงหรา อ.กงหรา จ.พัทลุง เป็นโฮมสเตย์บ้านทรงไทยสองชั้น สภาพภูมิอากาศโดยรอบเป็นแบบร้อนชื้นค่อนข้างเย็น และมีฝนตกชุกตลอดปี อุดมไปด้วยพืชพันธ์นานาชนิดทั้งดอกไม้ป่า ตระกูลกล้วยไม้หรือไม้ประดับและไม้ยืนต้นที่มองดูแล้วยังคงความอุดมสมบูรณ์ไว้มาก ทำให้ผู้เข้าพักได้สูดออกซิเจนบริสุทธ์ให้กับร่างกาย ด้วยงบเพียง 100 บาทต่อ/คน พร้อมอาหารเช้า ถ้ำลูกยา อยู่ติดกับถ้ำชี เป็นถ้ำที่ไม่มีค้างคาวอาศัยอยู่ ปากทางเข้าถ้ำกว้างประมาณ 50 เมตร ต้องไต่บันไดลงไป 2 ช่วง ช่วงแรกประมาณ 15 ขั้น ช่วงที่สองประมาณ 10 ขั้น แต่เมื่อลงไปบริเวณพื้นที่ถ้ำ จะดูสะอาดตาเหมือนมีคนมาเก็บกวาดอยู่เป็นประจำ ภายในถ้ำมีความสวยงาม เป็นลานโล่ง กว้างขวาง ผนังถ้ำมีหินงอกหินย้อย เมื่อกระทบกับแสงจะวับวาวระยิบระยับ ลักษณะคล้ายผ้าม่าน หลากหลายรูปแบบ สวยงามแปลกตา จะมีน้ำหยดลงมาเป็นภูเขาเล็ก ๆ หลายลูก เป็นประกายระยิบระยับคล้ายเพชร จึงเรียกว่า ภูเขาเพชร ภายในถ้ำมีบริเวณพื้นที่กว้างขวาง เมื่อเดินไปเข้าไปด้านในจะเจอรางหิน มีทั้งรางใหญ่ รางเล็ก ภายในรางหินนั้นจะมีเม็ดหิน มีลักษณะกลม ซึ่งจะมีทั้งเม็ดเล็ก และเม็ดใหญ่ เรียกว่า “เม็ดยาคนธรรพ์” เชื่อกันว่าเป็นเม็ดยาที่คนธรรพ์ปั้นมาสำหรับรักษาคนป่วย ในสมัยก่อนเมื่อมีคนเป็นไข้จะไปเอาลูกเม็ดยาในถ้ำเพื่อนำมารักษาอาการไข้ โดยการนำเม็ดลูกยานี้มาละลายน้ำและนำมาชโลมตัวเพื่อใช้ลดไข้ เม็ดลูกยาที่เก็บมาจากในถ้ำ ถ้าหากกวาดออกแล้วเมื่อกลับไปดูอีก 2-3 วัน จะมีเม็ดยาขึ้นมาใหม่ จึงเรียกถ้ำนี้ว่า “ถ้ำลูกยา” ถ้ำปลา เป็นพื้นที่บริเวณในวัง ในสมัยก่อนเป็นพื้นที่ลุ่มมีสายน้ำ ลำห้วยไหลผ่านหน้าถ้ำเป็นหนองน้ำ ทำให้น้ำลอดเข้าไปในถ้ำและมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลามากมายหลากหลายชนิด แต่บางปีเกิดน้ำแล้งเป็นเวลานาน ทำให้หนองน้ำ ลำห้วยแห้งแล้ว ปลาจึงเข้าไปอยู่ในถ้ำ จึงเรียก “ ถ้ำปลา” มาจนถึงปัจจุบัน ถ้ำไก่ชน เป็นถ้ำที่มีพื้นที่ลานโล่ง มีช่องลมลอดเย็นสบาย กว้างขวาง เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เล่ากันว่า ในสมัยก่อนพื้นที่ในวังชาวบ้านจะนำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยง หลังจากเสร็จจากฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านก็จะไปอยู่ร่วมกันเพื่อเป็นที่พักผ่อน และทำกิจกรรมพื้นบ้านต่างๆหนึ่งในนั้นคือ “การชนไก่” เพราะบริเวณภายในถ้ำมีลานโล่งเหมาะสำหรับชนไก่ ซึ่งจะเป็นช่วงเดือนเมษายนของทุกๆ ปี จะนัดคนในพื้นที่ที่มีไก่ชน จึงเรียกถ้ำไก่ชน มาจนถึงปัจจุบัน