เวลาทำการ: ไม่ได้ระบุ
หมู่ที่ 1 คลองหมวย ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ #ประวัติหมู่บ้านคลองหมวย บ้านคลองหมวยตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง มีประวัติความเป็นมาอยู่ว่าในสมัยก่อนมีชาวจีนจากจังหวัดตรังเดินทางมาเป็นครอบครัวใหญ่ เดินเท้าผ่านมา แล้วมาหยุดพักที่บ้านลำสินธุ์ที่แห่งนี้ หมวยเป็นคำที่ใช้เรียกผู้หญิงหรือเด็กผู้หญิงชาวจีน บวกกับในพื้นที่นี้มีลำคลอง ชาวบ้านในพื้นที่จึงเรียกว่า “คลองหมวย” เป็นชื่อหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกยางพารา และปลูกผลไม้ รวมทั้งพืชไร่อื่นๆ ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ เกิดจากแนวคิดที่จะสร้างโอกาส สร้างอาชีพให้ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และผู้ประกอบอาชีพกลุ่ม OTOP ได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าที่แน่นอน และมีระยะเวลาที่ต่อเนื่อง สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เป็นธรรม กิจกรรมภายในตลาดนัด ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP การออกร้านจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของส่วนราชการ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านและภาคเอกชนร่วมจำหน่ายและส่งเสริมการขาย “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” กระจายทั่วทั้งจังหวัดโดยมีรูปแบบการดำเนินงานตลาดนัดในเขตเทศบาลและตลาดนัดในเขตชนบทเปิดให้บริการให้มาเลือกจับจ่ายใช้สอยสิ้นค้า น้ำมันนวดสมุนไพร เนื่องจากในพื้นที่บ้านคลองหวยมีการปลูกพืชหลากหลาย รวมไปถึงพืชสมุนไพรชาวบ้านจึงได้นำสมุนไพรเช่นหัวไพล ตะไครัหอม ว่านสาวหลง มาสกัดแปรรูปจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์พิมเสน การบูร เมนทอล สำหรับทาบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ แมลงสัตว์กัดต่อยใช้ดมแก้วิงเวียนศรีษะ เป็นสินค้า OTOP ของหมู่บ้านคลองหมวยที่ตั้งขายในหมู่บ้านและส่งไปขายตามที่ต่างๆของศูนย์โอทอปพัทลุง แหล่งเรียนรู้การทำไซ พัทลุงเป็นพื้นที่ติดชายฝั่ง ชาวบ้านมีการประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำและมีการประดิษฐ์เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำหลากหลายรูปแบบ “ไซ” ถือเป็นเครื่องมือจับปลายอดฮิต วิธีการทำที่ยุ่งยากนับว่าเป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่ต้องใช้ทั้งความเพียรพยายามและความประณีต ถึงจะทำได้สำหรับ คนส่วนใหญ่จึงหันไปใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยสะดวก วิธีการทำไซแบบภูมิปัญหาชาวบ้านค่อยๆเริ่มหายไป ชาวบ้านคลองหมวยจึงได้จัดตั้ง แหล่งเรียนรู้การทำไซ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา อนุสวรีย์ถังแดง เกิดจากความไม่เท่าเทียมและความต่างทางอุดมคติ จนเกิดความขัดแย้งรุนแรงนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่าง "รัฐกับประชาชน" กลายเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์เลือดและการเมือง ภาคใต้เช่นจังหวัดพัทลุงก็เป็นอีกพื้นที่ๆพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท) เคลื่อนไหวต่อการทำสงครามทางการเมือง เจ้าหน้าที่ประกอบด้วยทหาร ตำรวจ และอ.ส.เข้าล้อมหมู่บ้านจับบรรดาราษฎรที่ต้องสงสัยไปเป็นจำนวนมาก แล้วทำการสอบสวนโดยวิธีการทารุณต่างๆ เช่น สอบสวน แล้วเมื่อไม่รับก็ยิงกรอกหู ใช้ค้อนทุบต้นคอ และวิธีการจับชาวบ้านใส่ถังแดงแล้วเผาทั้งเป็น ถือเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญของชาวบ้านในยุคนั้น และมีการก่อตั้งอนุสาวรีย์ถังแดงขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของประชาชนในยุคนั้น และยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความขัดแย้งของสังคมการเมืองไทย ที่ชุมชนร่วมสร้างเพื่อการเรียนรู้ที่จะไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา