เวลาทำการ: ไม่ได้ระบุ
หมู่ที่ 7 บ้านขาม ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ ประวัติบ้านขาม บ้านขาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง เดิมอยู่ติดกับหมู่ 1 ต.ลำสินธุ์ แยกตัวเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 40 ประชากรส่วนใหญ่ทำสวนทำการเกษตร #บ้านขามสายน้ำมีชีวิต บ้านขามสายน้ำมีชีวิต เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้าน ไม่มีการใช้ทุนหรืองบประมาณจากภาครัฐ โดยครั้งแรกได้จัดกิจกรรมทำบุญสายน้ำเมื่อ 5 ปีก่อน และพัฒนาต่อเนื่องจนชาวบ้านเริ่มเห็นคุณค่าของคลอง มีการตื่นตัวร่วมกันอนุรักษ์ และเกิดการท่องเที่ยวตามมา ที่สำคัญทำให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียว และฟื้นความเป็นชุมชนวิถีดั้งเดิมที่อยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อและผูกพันกับสายน้ำให้กลับคืนมาอีกครั้งด้วยจุดเด่นของคลองบ้านขามคือ น้ำใสสะอาด ทรายขาว มีฝูงปลาจำนวนมาก น้ำไม่ลึก เด็กๆ เล่นได้อย่างปลอดภัย มีฐานผจญภัย เช่น โหนเชือก ไต่เชือก รวมทั้งกองดินเหนียวริมคลองขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “สไลเดอร์” บ้านขาม ก็เป็นอีกของเล่นยอดนิยม เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับสายน้ำ บ้านขามสายน้ำมีชีวิต เกิดจากขึ้นจากการมองเห็นความสำคัญของสายน้ำแห่งนี้ ที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์กันมาอย่างยาวนานใช้ในการสาธารณูปโภคบริโภค ให้มาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ หลากหลายฐานการเรียนรู้ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จากนั้นเริ่มมีการพัฒนานำเอาวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนบ้านขามในสมัยก่อน ที่นี่ถือเป็นสถานที่หล่อหลอมรวมใจของคนบ้านขาม มีการฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติปลูกต้นไม้บริเวณโดยรอบเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ ผู้คนในชุมชนจึงเริ่มเห็นความสำคัญของสายน้ำแห่งนี้ร่วมกันดูแลรักษาเพราะบ้านขามสายน้ำมีชีวิตถือเป็นหัวใจหลักของคนในชุมชน วิถีข้าวชนชั้น เป็นวิถีที่ชาวบ้านในชุมชนปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อเป็นการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งของหมู่บ้าน โดยวิถีข้าวชนชั้น คือ การที่ชาวบ้านเตรียมข้าวแกงอาหารพื้นบ้านท้องถิ่นของตนเองเช่น ขนม ผลไม้ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในหมู่บ้านมาต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในหมู่บ้าน โดยมีปิ่นโต 1ปิ่นโต ราคา 150 บาท เพื่อเป็นการบริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวภายในชุมชน ให้รู้สึกเหมือนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่น สวนการเรีนรู้พันธุกรรมพืช เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้พืชพันธุ์ไม้หายาก ชมความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในชุมชนบ้านขามในพื้นที่กว่า 6.5 ไร่ ให้ได้ศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และเลือกซื้อพันธุ์ไม้กลับไปปลูกเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชต่อไป หัวแส้ เป็นพืชผักท้องถิ่นทางใต้ที่นิยมปลูกกันตามหมู่บ้านชนบทโดยเฉพาะบริเวณเชิงเขา ใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านปลูกแส้เพื่อใช้หัวและใบเป็นผักเหนาะ และประกอบเป็นอาหาร แต่ปัจจุบันเกษตรกรบางหมู่บ้านใช้ที่ดินสวนยางพาราลงทุนปลูกแส้แซมยางเป็นอาชีพหลัก และยังส่งผลผลิตไปขายต่อยังประเทศมาเลเชียประชาชนในหมู่บ้านกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้ แต่พอถึงช่วงหน้าฝนของทุกปีจะปลูกพืชผักชนิดกินหัวไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง มันขี้หนู เผือก และอื่นๆ เช่นเดียวกับอีกหลายครอบครัวที่นิยม ปลูกพืชผักหมุนเวียนตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบัน แส้เป็นพืชที่สร้างรายได้ ให้แก่ราษฎร์ในหมู่บ้าน ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของหมู่บ้าน และจะมีปลูกเป็นอาชีพหลักเฉพาะที่บ้านขามเท่านั้นและสามารถปลูกขายได้ปีละ 3 ครั้ง และจะเว้นพักดินในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น สำหรับตลาดจำหน่ายแส้นั้น มีบางส่วนส่งขายให้กับผู้ค้าในพื้นที่ เพื่อนำไปขายต่อในพื้นที่จังหวัดพัทลุง แต่ผลผลิตส่วนใหญ่ก็จะมีแม่ค้ารับซื้อในหมู่บ้านกิโลกรัมละ 40 บาท เพื่อนำไปส่งขายต่อให้กับผู้ค้าส่งออกนำไปขายยังประเทศมาเลเชีย