งานเทศกาลล่องเรือ-แลนกทะเลน้อย จัดบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แต่ละวันจะมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวนั่งเรือหางยาว เที่ยวชมนก และพรรณไม้น้ำ การแสดงพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าเกษตร และวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์พื้นบ้านนานาชนิด
จัดกิจกรรมสำคัญทางศาสนาและกิจกรรมสืบสานวิถีชีวิตวัฒนธรรม ประเพณีพิธีกินข้าวเหนียวดำว
กิจกรรมสืบสานศิลป์ถิ่นโนรา ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีการสืบทอดต่อกันมายาวนานของผู้ที่เป็นศิลปินโนรา ผู้ที่นับถือครูหมอโนรา และ ความสำคัญยิ่งต่อลูกหลานโนราในจังหวัดพัทลุง
เทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์ของจังหวัดสงขลา จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคม ที่บริเวณเขตเทศบาล อำเภอหาดใหญ่
งานประเพณีที่สืบทอดและจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 นับตามปฏิทินจีน โดยชาวจีนจะปวารนาตนงดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ พร้อมทั้งถือศีลไหว้พระทำบุญ ทำทาน เพื่อเป็นการชำระทั้งร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ถือเป็นการสร้างบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต ดังคำกล่าวที่ว่า “กินเจหนึ่งมื้อ หมื่นชีวิตรอด
จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยกระทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังเทศกาลออกพรรษา ซึ่งจะมียานพาหนะที่ตกแต่งสวยงามเรียกว่า เรือพระ โดยจะมีเชือกอยู่ข้างเรือพระข้างละ 1 เส้น เพื่อให้ประชาชนไปร่วมพิธี บนเรือพระจะมีกลองสำหรับประโคม มีพระภิกษุสามเณรนั่งร่วมไปด้วยตามความเหมาะสม เรือพระจะแห่แหนไปรอบผ่านชุมชนต่างๆ
พิธีแห่นางดาน คำว่านางดาน หรือนางกระดาน หมายถึง แผ่นไม้กระดานขนาดกว้างหนึ่งศอกสูงสี่ศอก ที่วาดหรือแกะสลักรูปเทพบริวารในคติพราหมณ์ จำนวน 3 องค์ แผ่นแรก คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ แผ่นที่สองคือแม่พระธรณี แผ่นที่สามคือพระแม่คงคา เพื่อใช้ในขบวนแห่เพื่อรอรับเสด็จพระอิศวรที่เสด็จมาเยี่ยมมนุษย์โลก
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากขุมนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ มีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง
เป็นงานประเพณีที่เก่าแก่และสำคัญของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เท่านั้น ประเพณีนี้ไม่มีปฏิบัติกันที่ใดในประเทศไทย นอกจากเมืองนครเท่านั้น เป็นประเพณีที่ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินทองตามกำลังศรัทธา นำเงินที่ได้จากการบริจาคนั้นไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเข้าให้เป็นแถบยาวนับพันหลา
งานอนุรักษ์มรดกไทย จ.พัทลุง
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากขุมนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ มีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรกในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 โอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที
ประเพณีชักพระ หรือการแห่พระพุทธรูป ทั้งทางบกและทางน้ำ จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยกระทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังเทศกาลออกพรรษา ซึ่งจะมียานพาหนะที่ตกแต่งสวยงามเรียกว่า เรือพระ โดยจะมีเชือกอยู่ข้างเรือพระข้างละ 1 เส้น เพื่อให้ประชาชนไปร่วมพิธี บนเรือพระจะมีกลองสำหรับประโคม มีพระภิกษุสามเณรนั่งร่วมไปด้วยตามความเหมาะสม เรือพระจะแห่แหนไปรอบผ่านชุมชนต่างๆ และที่สุดจะไปรวมกันบริเวณแหลมสนเพื่อทำพิธีทางศาสนาต่อไปในประเพณีนี้ ชาวพุทธในจังหวัดสงขลา จะทำขนสัญลักษณ์ของการชักพระ คือ ข้าวต้มมัดที่ห่อด้วยใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยมนำไปบูชาพระประเพณีชักพระ
พิธีแห่นางดาน คำว่านางดาน หรือนางกระดาน หมายถึง แผ่นไม้กระดานขนาดกว้างหนึ่งศอกสูงสี่ศอก ที่วาดหรือแกะสลักรูปเทพบริวารในคติพราหมณ์ จำนวน 3 องค์ แผ่นแรก คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ แผ่นที่สองคือแม่พระธรณี แผ่นที่สามคือพระแม่คงคา เพื่อใช้ในขบวนแห่เพื่อรอรับเสด็จพระอิศวรที่เสด็จมาเยี่ยมมนุษย์โลก โดยประเพณีแห่นางดานเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเพณีนี้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งมีชุมชนพราหมณ์เกิดขึ้นในนครศรีธรรมราช ราว พ.ศ. 1200 เมื่อพราหมณ์ได้เคลื่อนย้ายขึ้นไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาก็ได้นำพิธีกรรมในประเพณีนี้ไปปฏิบัติ เรียกว่าพิธีโล้ชิงช้า หรือพระราชพิธีตรียัมปวาย ในปัจจุบันจัดขึ้นในเดือนเมษายน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ นางดานหรือนางกระดาน เป็นแผ่นไม้กระดานขนาดกว้างหนึ่งศอก สูงสี่ศอก ที่วาดหรือแกะสลักรูปเทพบริวารในคติความเชื่อของพราหมณ์ จำนวน 3 องค์ องค์ละแผ่น แผ่นแรกคือพระอาทิตย์ พระจันทร์ แผ่นที่สองคือพระธรณี แผ่นที่สามคือพระนางคงคา ใช้ในขบวนแห่รับเสด็จพระอิศวร
งานเทศกาลกินเจ เป็นงานประเพณีที่สืบทอดและจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 นับตามปฏิทินจีน โดยชาวจีนจะปวารนาตนงดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ พร้อมทั้งถือศีลไหว้พระทำบุญ ทำทาน เพื่อเป็นการชำระทั้งร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ถือเป็นการสร้างบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต ดังคำกล่าวที่ว่า “กินเจหนึ่งมื้อ หมื่นชีวิตรอด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมถือศีลกินเจ สร้างบุญเสริมบารมีแก่ชีวิต นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ พิธีข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์เสริมบารมี พิธีเดินสะพานเสริมบารมี พิธีเทกระจาดโปรดวิญญาณ (ซีโกว) และการจัดขบวนแห่พระเพื่อโปรดลูกหลาน ตามเส้นทางภายในเขตเทศบาลนครสงขลา ทั้งนี้ขอเชิญประชาชนที่อาศัยอยู่ในเส้นทาง ขบวนแห่ ตั้งโต๊ะบูชารับองค์พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือน ร้านค้า ตลอดจนครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป